วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หมีแพนด้า


แพนด้ายักษ์ หรือไจแอนท์แพนด้า (Ailuropoda melanoleuca) คนไทยนิยมเรียกหมีแพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae) ถิ่นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
อาหารโปรดของแพนด้ายักษ์คือไผ่ นอกนั้นจะเป็นหญ้าชนิดอื่น ๆ
ลักษณะเฉพาะของแพนด้ายักษ์คือมีขนสีดำรอบดวงตา, ใบหู, บ่า และขาทั้งสี่ข้าง ส่วนอื่นประกอบด้วยขนสีขาว



ปัจจุบันแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสัตว์สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก ตามรายงานล่าสุด
มีแพนด้าที่เลี้ยงในกรงเลี้ยง 239 ตัวอยู่ในจีน และอีก 27 ตัวอยู่ในต่างประเทศ มีการคาดการณ์ไว้ว่ามีแพนด้ายักษ์ประมาณ 1,590ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ อย่างไรก็ดี จากการศึกษาในปี พ.ศ. 2549 ผ่านการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ สามารถประมาณการได้ว่าอาจจะมีแพนด้ายักษ์เป็นจำนวนถึง 2,000-3,000 ตัวอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนแพนด้าตามธรรมชาติเพิ่มจำนวนขึ้น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติเชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวยังไม่มีความแน่นอนพอที่จะย้ายชื่อแพนด้ายักษ์ออกจากบัญชีรายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

ลักษณะทั่วไป

แพนด้ายักษ์มีถิ่นอาศัยอยู่ตามพื้นที่ภูเขา เช่น มณฑลเสฉวน, ซานซี, กานซูและทิเบต แพนด้ายักษ์เป็นสัญลักษณ์ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund:WWF) องค์กรด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ตั้งแต่ช่วงหลังของศตวรรษที่ 20 แพนด้าได้กลายเป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศจีน และรูปภาพของมันได้อยู่บนเหรียญทองของจีน
ถึงแม้พวกมันจะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมการกินของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดย 99% ของอาหารที่มันกินคือไผ่ แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ
หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่สายพันธุ์ใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือหมีแว่นของอเมริกาใต้ (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์หมี (Ursidae), วงศ์แรคคูน, วงศ์โพรไซโอนิเด (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง ไอเลอริเด (Ailuridae))
แพนด้าเป็นสัตว์สปีชีส์ที่ถูกคุกคามหรืออยู่ในอันตรายต่อการสูญพันธ์ ทั้งนี้มาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่จากการบุกรุกของมนุษย์ อัตราการเกิดต่ำทั้งในป่าและในกรงเลี้ยง เชื่อว่ามีแพนด้ายักษ์เพียง 1,600 ตัว อาศัยอยู่รอดในป่า
หมีแพนด้ามีอุ้งตีนที่ผิดจากธรรมดา คือมีนิ้วหัวแม่มือ และมีนิ้วอีก 5 นิ้ว นิ้วหัวแม่มือที่จริงแล้วมาจากการปรับปรุงรูปแบบของกระดูกข้อต่อ สตีเฟน เจย์ กาวลด์ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยมีชื่อเรื่องว่า The Panda's Thumb หรือ นิ้วหัวแม่มือของแพนด้า หางของแพนด้ายักษ์นั้นสั้นมาก โดยมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
แพนด้ายักษ์ เป็นที่รู้จักในตะวันตกเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2412 โดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส อาร์มันด์ เดวิด ผู้ซึ่งได้รับหนังของแพนด้ามาจากนายพรานเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2412 ส่วนชาวตะวันตกคนแรกที่เป็นที่รู้จักว่าเห็นแพนด้ายักษ์ที่ยังมีชีวิตคือนักสัตว์วิทยาเยอรมัน ฮิวโก เวยโกลด์ เขาซื้อลูกของมันมาในปี พ.ศ. 2459 เคอร์มิท และ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ จูเนียร์ ได้เป็นชาวต่างชาติแรก ที่ยิงแพนด้าในการเดินทางศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อนำไปสตัฟฟ์และใช้ในการศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ฟิลด์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี พ.ศ. 2479 รุธ ฮาร์คเนส เป็นชาวตะวันตกคนแรก ที่นำเข้าแพนด้ายักษ์ที่มีชีวิตมายังสหรัฐฯ เป็นลูกแพนด้าชื่อซู-ลิน โดยนำมาเลี้ยงที่สวนสัตว์บรูคฟิลด์ในชิคาโก แพนด้ายักษ์ถือเป็นสัญลักษณ์ทางการทูตอย่างหนึ่งของจีน จะเห็นได้ว่าจีนส่งหมีแพนด้าไปยังสวนสัตว์สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 โดยการให้ยืม ซึ่งเป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาติตะวันตก การปฏิบัติเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ทำให้มีคนเรียกแพนด้าว่า "ทูตสันถวไมตรี" อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ไม่มีการใช้หมีแพนด้าในฐานะทูตสันถวไมตรีอีกต่อไป แต่จีนมีการเสนอที่จะส่งแพนด้ายักษ์ไปยังชาติอื่นโดยให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1,000,000 เหรียญสหรัฐ และมีข้อกำหนดว่าลูกของแพนด้ายักษ์ใด ๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน



หมีแพนด้าตัวแรกในประเทศไทย

ผมเองอดไม่ได้ที่จะตื่นเต้นไปกับเขาด้วย เมื่อมีโอกาสได้เห็นภาพของเจ้าแพนด้าตัวน้อยทายาทของ คุณหลินฮุ่ย และ คุณช่วงช่วง ที่เพิ่งคลอดออกมาลืมตาดูโลก และเป็นสมาชิกใหม่ล่าสุดของสวนสัตว์เชียงใหม่ และก็ต้องยอมรับว่าผมเองเคยชินกับภาพของเจ้าลูกหมีแพนด้า ในภาพยนต์สารคดีตามหน้าจอโทรทัศน์ ที่มีขนปุกปุยน่ารัก น่าฟัด น่าเตะ ไม่เหมือนกับภาพของเจ้าตัวน้อยที่ออกมาร้องแง้วๆ ดูคล้ายกับลูกแมวซะมากกว่าลูกหมี…

อ ง ค์ กา ร ส ว น สั ต ว์ ใ น พ ระ บ ร ม รา ชู ป ถั ม ภ์

วันนี้ได้มีโอกาสเข้าไปดูภาพด้านบนนี้จากเว็ปสวนสัตว์เชียงใหม่ ก็เลยขอคัดลอกมาบันทึกไว้ในที่นี้ด้วย ดังนี้ ผลจากการติดตามการตั้งท้องของหลินฮุ่ยอย่างใกล้ชิด พบว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2552 ที่ผ่านมา ในเวลาประมาณเที่ยงคืนเศษ หลินฮุ่ย เริ่มมีการเลีย อวัยวะเพศอย่างต่อเนื่อง สลับกับการมาร์คกิ้ง การกินอาหารลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการเลีย อวัยวะเพศติดต่อกัน รวมแล้วเป็นเวลาหลายชั่วโมง และในช่วงเช้าเวลาประมาณ แปดนาฬิกาเศษ ซึ่งเป็นเวลาที่เจ้าหน้าที่จะนำหลินฮุ่ยเข้ากรงบีบเพื่อ ตรวจสุขภาพตามปกติ ปรากฏว่าหลินฮุ่ยไม่ยอมเข้ากรงบีบเหมือนเช่นเคย แต่กลับสนใจแต่การเลียอวัยวะเพศและเริ่มมีการเบ่ง จนอวัยวะเพศมีการขยายอย่างเห็นได้ชัด จึงได้ตัดสินใจที่จะไม่ปล่อยหลินฮุ่ยออกส่วนจัดแสดง และกำชับให้เจ้าหน้าที่สังเกตพฤติกรรมแบบไม่ให้คลาดสายตา ซึ่งพบว่าหลินฮุ่ยมีการเบ่งลูกเป็นระยะ และมีความถี่เพิ่มมากขึ้นจากช่วง 20 นาที มาเป็นช่วง 10 นาที สลับกับการเลีย อวัยวะเพศ

จากนั้นเวลาประมาณ 10.39 น. หลินฮุ่ยได้เปลี่ยนมาอยู่ในท่าโก้งโค้ง และได้เบ่งอีกครั้งหนึ่งจนลูกคลอดออกมาบนพื้นห้อง หลินฮุ่ยก็พยายามคาบลูกไปไว้ในอ้อมกอด ซึ่งเป็นจุดสำคัญว่าหลินฮุ่ยจะสามารถเลี้ยงลูกได้หรือไม่ ถ้าหลินฮุ่ยไม่คาบลูกหรือคาบลูกไม่เป็น ก็แสดงว่าหลินฮุ่ย เลี้ยงลูกไม่เป็น แต่ปรากฏว่า หลินฮุ่ยเป็นแม่ที่ดีมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นท้องแรก แต่ก็สามารถคาบลูกมาไว้ในอ้อมกอดได้เป็นอย่างดี ทำให้มั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า หลินฮุ่ยเลี้ยงลูกเป็น ส่วนลูกหมีแพนด้าที่เกิดออกมา ตัวใหญ่ ร้องเสียงดัง ดิ้นแรง น่าจะมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 200 กรัม ซึ่งเป็นลักษณะของลูกหมีแพนด้าที่มีความแข็งแรงจึงไม่น่าที่จะต้องแยกลูกหมีแพนด้าออกมาเลี้ยง ในช่วง 3 ชั่วโมงแรกหลังจากคลอด ลูกหมีแพนด้าจะยังไม่หิว หลินฮุ่ยได้ทำการกอดและเลียให้ความอบอุ่นแก่ลูก ทำให้ลูกนิ่งเงียบ จะขยับตัวเป็นระยะ และส่งเสียงร้องดัง เมื่อหลินฮุ่ยอุ้มดีแล้วก็จะนอนเงียบ สำหรับการเตรียมการเลี้ยงลูกหมีแพนด้า ก็จะต้องทราบให้ได้ก่อนว่าลูกหมีได้กินนมแม่หรือไม่ ถ้าได้กินก็ให้หลินฮุ่ยเลี้ยงต่อได้ แต่ถ้าไม่ได้กินก็ต้องพยายามแยกออกมาป้อนนม แล้วค่อยนำกลับไปคืนให้หลินฮุ่ยแต่เท่าที่สังเกตได้ ณ ขณะนี้ คาดว่าลูกหมีแพนด้า ได้กินนมจากหลินฮุ่ยไปบ้างแล้ว หมีแพนด้าช่วง ช่วง ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย สวนสัตว์เชียงใหม่ ในวันที่ 12 ตุลาคม 2546 ช่วง ช่วง รหัส 510 เพศผู้ ขณะมาอยู่ประเทศไทยนั้นมีอายุ 3 ขวบ น้ำหนัก 106 กก. เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2000 เกิดที่ศูนย์กลางวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าวู่หลง พ่อชื่อ ซิน ซิ่ง รหัส 329 แม่ชื่อไป๋เสวีย รหัส 418 สุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์ หลินฮุ่ย รหัส 539 เพศเมีย ขณะมาอยู่ประเทศไทยนั้นมีอายุ 2 ขวบ น้ำหนัก 60 กก. เกิดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2001 เกิดที่ศูนย์กลางวิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้าวู่หลง พ่อชื่อ พ่าน พ่าน รหัส 308 แม่ชื่อ ถัง ถัง รหัส 446 สุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์

ปัจจุบัน ช่วง ช่วง อายุ 8 ปี 8 เดือน น้ำหนัก 141.67 กก. และ หลินฮุ่ย อายุ 7 ปี 7 เดือน น้ำหนัก 113.67 กก.










http://astore.amazon.com/bbshop-20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น